อำเภอ บึงกาฬ เดิมเป็นตำบลหนึ่งในเขตการปกครองของอำเภอชัยบุรี จังหวัดนครพนม ซึ่งมีที่ว่าการอำเภอ ตั้งอยู่ที่บริเวณปากน้ำสงคราม ต่อมาไม่ทราบชัดว่าปีใด ทางราชการได้ย้ายที่ว่าการอำเภอมาตั้งที่บึงกาญจน์ริมฝั่ง ตรงข้ามเมืองปากซัน แขวงบลิคำไซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวปี พ.ศ.2459 ทางราชการ ก่อสร้าง ที่ว่าการอำเภอขึ้นใหม่และโอนการปกครองอำเภอชัยบุรีมาขึ้นกับจังหวัด หนองคาย ส่วนบริเวณที่ตั้ง ที่ว่าการอำเภอชัยบุรีเดิมนั้น ทางราชการยุบมาเป็นตำบลอยู่ในเขตการปกครอง ของอำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม
ปี พ.ศ.2475 ข้าราชการกระทรวงมหาดไทยท่านหนึ่งเดินทางมาตรวจราชการที่อำเภอชัยบุรี พบว่า หมู่บ้านบึงกาญจน์ มีหนองน้ำใหญ่แห่งหนึ่ง กว้างประมาณ 160 เมตร ยาวประมาณ 3,000 เมตร ชาวบ้าน เรียก "บึงกาญจน์" เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป ทางการจึงเปลี่ยนชื่ออำเภอชัยบุรีเป็น "อำเภอบึงกาญจน์" ตั้งแต่นั้นมา
ต่อมาปี พ.ศ.2477 ทางการได้เปลี่ยนชื่อ อำเภอบึงกาญจน์ เป็น"อำเภอบึงกาฬ" เพื่อความสะดวกและ เข้าใจง่าย ต่อมาได้แยกอำเภอเซกา อำเภอพรเจริญ อำเภอศรีวิไล และ อำเภอบุ่งคล้า ออกจากอำเภอ บึงกาฬ ตามลำดับ
ปัจจุบันที่ว่าการอำเภอบึงกาฬ ตั้งอยู่ที่บ้านบึงกาฬ หมู่ที่ 1 ตำบลบึงกาฬ ห่างจากตัวจังหวัด ไปทางทิศตะวันออกประมาณ 136 กิโลเมตร มีพื้นที่ปกครองทั้งหมด 673.262 ตารางกิโลเมตร โดย แบ่งการปกครองออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ การปกครองส่วนภูมิภาคแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 12 ตำบล 121 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลบึงกาฬ ตำบลวิศิษฐ์ ตำบลไคสี ตำบลหอคำ ตำบลหนองเลิง ตำบลหนองเข็ง ตำบลโนนสมบูรณ์ ตำบลนาสวรรค์ ตำบลคำนาดี ตำบลโคกก่อง ตำบลชัยพร และตำบลโป่งเปือย
การปกครองส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วยสุขาภิบาล 1 แห่ง คือ สุขาภิบาลบึงกาฬ มีองค์การบริหาร ส่วนตำบล (อบต.) ครบทุกตำบล ยกเว้นตำบลโป่งเปือยที่ยังเป็นสภาตำบล รอการประกาศยกฐานะขึ้นเป็น อบต. ในอนาคต
จังหวัดบึงกาฬ แยกออกจาก จ.หนองคาย เนื่องจากมีคุณสมบัติครบถ้วนในการเป็นจังหวัดใหม่คือ มี 8 อำเภอประกอบด้วย อ.บึงกาฬ อ.เซกา อ.โซ่พิสัย อ.พรเจริญ อ.ปากคาด อ.บึงโขงหลง อ.ศรีวิไล และ อ.บุ่งคล้า มีประชากรเกือบ 4 แสนคน มีความพร้อมเรื่องสาธารณูปโภคทั้งศาลากลาง อำเภอ สำนักงานอัยการ ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ แขวงการทาง สถานีตำรวจน้ำ
เป็นจังหวัดที่มีสภาพแวดล้อมที่สมบูรณ์ แวดล้อมไปด้วยภูเขา น้ำตก ที่สวยงาม เช่น น้ำตกเจ็ดสี, น้ำตกตากชะแนน ที่อยู่ภายในอุทยานแห่งชาติภูวัว อีกทั้งอำเภอบึงกาฬยังมีส่วนที่ติดกับแม่น้ำโขง ตลอดริมแนวชายฝั่ง
จังหวัดบึงกาฬ ภูมิอากาศที่จังหวัดบึงกาฬที่นี้ดีมาก เพราะได้ผลจากแม่น้ำโขงทำให้ไม่ร้อนมากในช่วงหน้าร้อน หน้าหนาวก็อากาศดีน่าท่องเที่ยวและพักผ่อนเป็นอย่างยิ่ง สังเกตุได้จากที่พักบึงกาฬ จะเต็มอยู่ตลอดเวลาในช่วงเทศกาลสำคัญๆ
ประเพณีวัฒนธรรมของจังหวัดบึงกาฬ ได้รับการสืบทอดมาอย่างรุ่นต่อรุ่นอย่างไม่ขาดหาย เพราะได้รับการสนับสนุนจากประชาชนอย่างดี เทศกาลต่างๆ ของจังหวัดบึงกาฬ เช่น เทศกาลบุญบั้งไฟ, เทศกาลสงกรานต์
อัธยาศัยของคนจังหวัดบึงกาฬนั้นเป็นกันเอง ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน อาหารการกินนั้นจะอยู่ในพวกประเภทของปลา เพราะอยู่ติดแม่น้ำโขงทำให้สามารถหาปลาได้อย่างง่ายดาย
ประเพณีวัฒนธรรมของจังหวัดบึงกาฬ ได้รับการสืบทอดมาอย่างรุ่นต่อรุ่นอย่างไม่ขาดหาย เพราะได้รับการสนับสนุนจากประชาชนอย่างดี เทศกาลต่างๆ ของจังหวัดบึงกาฬ เช่น เทศกาลบุญบั้งไฟ, เทศกาลสงกรานต์
อัธยาศัยของคนจังหวัดบึงกาฬนั้นเป็นกันเอง ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน อาหารการกินนั้นจะอยู่ในพวกประเภทของปลา เพราะอยู่ติดแม่น้ำโขงทำให้สามารถหาปลาได้อย่างง่ายดาย
สถานที่สำคัญของจังหวัดบึงกาฬ เจ้าแม่สองนาง หลวงพ่อใหญ่ วัดโพธาราม หนองกุดทิง(พื้นที่ชุ่มน้ำ) หาดทรายบึงกาฬ โรงเรียนบึงกาฬ วัดอาฮง องการบริหารส่วนตำบลบึงกาฬ โรงพยาบาลบึงกาฬ ศาลจังหวัดบึงกาฬ
ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก วิกีพิเดีย บึงกาฬ.คอม บึงโขงหลง.คอม ศรีวิไล.เน็ต และ ธนปกรณ์ สุขสาลี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น