บล็อกนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อการเรียนการสอนรายวิชา อินเตอร์เน็ตและการสื่อสารในชีวิตประจำวัน ของ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ที่พัก

โรงแรม แม่น้ำ (Maenamm Hotel)
ที่อยู่ : 107 หมู่ 1 ถ.ชาญสินธุ์ ตำบลวิศิษฐ์
โทรศัพท์ : 0 4249 1051-2, 0 4249 1216, 08 9711 7374
เว็บไซต์ : http://www.maenammhotel.com
ราคา : 350 - 450 บาท/คืน


ทรายเงิน รีสอร์ท (Sai Ngoen Resort)
ที่อยู่ : 149 หมู่ 9 บ้านแสนประเสริฐ ถ.บึงกาฬ-พังโคน ต.บึงกาฬ
โทรศัพท์ : 0-4249-1833-4,0-4249-1055
ราคา : จำนวนที่พัก 21 ห้อง, ราคา 250 - 500 บาท/คืน


โรงแรมสำราญ (Sumran Hotel)
ที่อยู่ : 222 ม.1 ถ.มีชัย ต.บึงกาฬ
โทรศัพท์ : 042-403435, 087-231-4003
ราคา : ห้องเตียงเดียว 300 บาท / คืน ห้องเตียงคู่ 320 บาท / คืน ห้องเตียงเดียว (ชั้น 4) 280 บาท
Web site : http://www.sumranhotel.com
E-mail : reserve@sumranhotel.com อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน , oo-tu@hotmail.com อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน

สมานมิตรโฮเต็ล
ที่อยู่ : 260 หมู่ 1 ถ.ประสาทชัย ต.บึงกาฬ
โทรศัพท์ : 0-4249-1678,0-4249-1078
ราคา : ห้องแอร์ราคาห้องละ 200-300 บาท/คืน



เลคเฮ้าส์รีสอร์ท
ที่อยู่ : 142 หมู่ 8 ต.บึงกาฬ
โทรศัพท์ : 0-4290-7270-4,0-4249-1326
ราคา : จำนวนที่พัก 10 ห้อง, ราคา 200 - 300 บาท/คืน


ตะวันรีสอร์ท
ที่อยู่ : 114 หมู่ 1 ต.โนนสมบูรณ์
โทรศัพท์ : 08-1741-3085
ราคา : ห้องละ 200-300 บาท/คืน



อาคารรับรองเวียงฟ้า
ที่อยู่ : 491 หมู่ 1 ต.วิศิษฐ์
โทรศัพท์ :  0-4249-2252
ราคา : ห้องละ 200-300 บาท/คืน


เรือนทองบริการห้องพัก
ที่อยู่ : 148 หมู่ 9 ถ.บึงกาฬ-หนองคาย ต.วิศิษฐ์
โทรศัพท์ :  0-4249-2186
ราคา : ไม่ระบุ


สันติสุขธานีโฮเต็ล
ที่อยู่ : 71/2 หมู่ 1 ถ.ประสาทชัย ต.บึงกาฬ
โทรศัพท์ :  0-4249-1114
ราคา : จำนวนที่พัก 25 ห้อง, ราคา 150 - 500 บาท/คืน



บ้านนาพญารีสอร์ท
ที่อยู่ : 109 หมู่ 10 ต.วิศิษฐ์
โทรศัพท์ :  08-1052-7098
ราคา : ห้องละ 150-200 บาท/คืน


บึงกาฬรีสอร์ท

ที่อยู่ : 104 หมู่ 12 ถ.บึงกาฬ-พังโคน ต.บึงกาฬ
โทรศัพท์ :  08-6857-2599
ราคา : ไม่ระบุ



หอพักบ้านสวน
ที่อยู่ : ไม่ระบุ
โทรศัพท์ :  0-4249-1795,08-1964-5018
ราคา : ห้องละ 200 บาท/คืน



จิราพรเกสต์เฮ้าส์

ที่อยู่ : 192 หมู่ 10 บ้านแสนสำราญ ถ.บึงกาฬ-พังโคน ต.บึงกาฬ (ใกล้ ต.ช.ด.244)
โทรศัพท์ :  0-4249-1407,08-9275-3692,08-7908-7277
ราคา : ห้องละ 200-300 บาท/คืน



บึงสวรรค์(บีบี)รีสอร์ท
ที่อยู่ : 142 หมู่ 8 บ้านบึงสวรรค์ ต.บึงกาฬ
โทรศัพท์ :  0-4290-7270,08-5164-1680
ราคา : ห้องละ 200 บาท/คืน


โรงแรมเป็นหนึ่ง
ที่อยู่ : 184 หมู่ 9 ถ.บึงกาฬ-พังโคน ต.บึงกาฬ
โทรศัพท์ :  0-4240-3061
ราคา : ห้องละ 200-250 บาท/คืน

ข้อมูลจาก Administrator  ผู้เขียน

การเดินทางไปจังหวัดบึงกาฬ

1.รถยนต์
- จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหมายเลข 1 ผ่านจังหวัดสระบุรีแล้วเข้าทางหลวงหมายเลข 2 ผ่านจังหวัดนครราชสีมา-จังหวัดขอนแก่น- จังหวัดอุดรธานี-จนถึงจังหวัดหนองคายและจากหนองคายสู่อำเภอบึงกาฬ โดยจะผ่านอำเภอโพนพิสัย กิ่งอำเภอรัตนวาปี อำเภอปากคาด รวมระยะทางทั้งสิ้นประมาณ 751 กิโลเมตร
2. รถโดยสารประจำทาง
มีรถโดยสารประจำทางทั้งรถโดยสารธรรมดาและรถปรับอากาศ
- จากบริษัทขนส่งจำกัด http://www.transport.co.th โทรศัพท์: 0 2 936  2841 - 48, 0 2936 2852 - 66 ต่อ 442, 311
- บริษัท แอร์อุดร จำกัด http://airudon.comze.com สำรองที่นั่ง กรุงเทพฯ โทร 02 936 2735 อุดรธานี โทร 0 4224 5789 สถานที่จำหน่ายตั๋วอาคารหมอชิต 2 ชั้น 3 ช่องจำหน่ายตั๋ว 55 และ 118 (หลังประชาสัมพันธ์ ชั้น 3)
- บริษัท 407 พัฒนา ให้บริการด้วยรถปรับอากาศชั้น 1 และชั้น 2 ชนิด ม.1ข ,ม.4ข ,ม.1พ ,ม.2  ให้บริการรถสาย กรุงเทพฯ หนองคาย บึงกาฬ บุ่งคล้า, กรุงเทพฯ กุมภวาปี บึงกาฬ ,ระยอง-ขอนแก่น-พังโคน-บึงกาฬ
  และยังมีรถบริษัทเอกชนหลายแห่ง จัดรถวิ่งระหว่างกรุงเทพฯ-หนองคาย โดยเริ่มจากสถานีขนส่งภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (หมอชิต 2) ถนนกำแพงเพชร
3. รถไฟ
- มีขบวนรถไฟจากกรุงเทพฯ-หนองคาย และขบวนรถด่วนดีเซลราง กรุงเทพ - อุดรฯ ทุกวัน ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 1690, 0 2223 7010, 0 2223 7020  www.railway.co.th  สถานีรถไฟหนองคาย โทร. 0 4241 1592
4. เครื่องบิน
สามารถ ไปได้โดยลงที่สนามบินจังหวัดอุดรธานี รายละเอียดสอบถามได้ที่บริษัทการบินไทย จำกัด http://www.thaiairways.co.th/  ศูนย์สำรองที่นั่ง 0 2356 1111
สายการบิน ไทยแอร์เอเชีย โทร. 0 2515 9999 http://www.airasia.com/th/th/home.html
สายการบินนกแอร์   www.nokair.com Call us Nok Air at 1318 or +662- 900-9955
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงาน ททท. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขต 5โทร. 0-4232-5406-7 หรือสอบถามข้อมูลได้ที่ โทร.1672

ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก วิกีพิเดีย บึงกาฬ.คอม บึงโขงหลง.คอม ศรีวิไล.เน็ต และ ธนปกรณ์ สุขสาลี

สถานที่ท่องเที่ยว


1. เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าภูวัว (อ. บุ่งคล้า) ผืน ป่าใหญ่ของ จ. บึงกาฬ และเป็นป่าอนุรักษ์ที่สวยสมบูรณ์ที่สุดอีกแห่งหนึ่งของภาคอีสาน ภายในพื้นที่มีน้ำตกสวยงามหลายแห่ง เช่น น้ำตกถ้ำฝุ่น น้ำตกเล็กๆ ที่เข้าถึงสะดวกที่สุด บริเวณน้ำตกมีเพิงถ้ำหลายแห่ง หรือน้ำตกชะแนน น้ำตกใหญ่ที่ไหลลัดเลาะมาตามลำห้วย แล้วตกมาเป็นน้ำตกสามชั้นอยู่ห่างกัน คือ ขัวพญานาค ชะแนน และบึงจระเข้ โดยมีน้ำตกชะแนนเป็นน้ำตกขนาดใหญ่สุด

2.น้ำตกเจ็ดสี (อ. บุ่งคล้า) น้ำตกที่สวยงามอีกแห่งหนึ่งในเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าภูวัว สายน้ำไหลตกจากหน้าผาหินทรายแล้วแผ่กว้างออกสวยงามตระการตา ด้านล่างมีแอ่งน้ำสำหรับเล่นน้ำและโขดหินให้นั่งเล่นพักผ่อนหย่อนใจ

3. น้ำตกตาดกินรี (อ. บึงโขงหลง) อยู่ ในป่าภูลังกา เป็นน้ำตกใหญ่ไหลลงสู่หุบเหว น้ำตกชั้นบนไหลลดหลั่นกันไปตามลานหินกว้าง และมีแอ่งน้ำใสให้เราสามารถลงไปเล่นน้ำกันได้

4. บึงโขงหลง (อ. บึงโขงหลง) ทะเลสาบ ขนาดใหญ่ที่เป็นพื้นที่อนุรักษ์พันธุ์นก โดยเฉพาะนกน้ำที่ย้ายถิ่นเข้ามาในช่วงฤดูหนาว ทั้งห่านป่า นกเป็ดน้ำ นกยาง นกกระเต็น มีจุดดูนกอยู่ดอนสวรรค์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของที่ทำการเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงโขงหลง บริเวณบึงยังมีหาดคำสมบูรณ์ที่มีหาดทรายทอดยาวในช่วงฤดูหนาว เป็นแหล่งพักผ่อนและชมวิวทิวทัศน์ มองเห็นภูลังกาเป็นฉากหลัง

5. ภูทอก (อ.ศรีวิไล ) ภูเขาหินทราย ที่มีวัดเจติยาคีรีวิหาร ตั้งอยู่เชิงเขา และมีสะพานไม้สร้างวนเวียนขึ้นไปสู่ยอดเขารวม 7 ชั้น เพื่อเป็นทางเดินขึ้นไปยังกุฏิและถ้ำที่อยู่ตามหลืบผา และมองเห็นความสวยงามของภูมิประเทศเบื้องล่างได้ไกลสุดลูกหูลูกตา ถ้าในวันที่อากาศแจ่มใสอาจมองได้ไกลถึงเทือกเขาในเขตจังหวัดนครพนม

6.วัดสว่างอารมณ์ (อ. ปากคาด) ภายในวัดมีโบสถ์อยู่ยนก้อนหินใหญ่ หลืบถ้ำด้านล่างเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปไสยาสน์ปางปรินิพพาน บริเวณด้านบนก้อนหินเป็นจุดชมวิวทิวทัศน์สวยงามของแม่น้ำโขง
7.หาดทรายขาว (อ. บึงกาฬ)เป็น หาดทรายขาวริมฝั่งแม่น้ำโขงที่สวยงามระยะทางยาวประมาณ 2 กม. เมื่อยามเช้าและเย็นอากาศดีลมพัดเย็นสบาย และความสวยงามเมื่อพระอาทิตย์ลับขอบฟ้า

8.แก่งอาฮง (อ.บึงกาฬ) เป็นแก่งหินกลางลำน้ำโขง บริเวณหน้าวัดอาฮงศิลาวาส บ้านอาฮง ตำบลหอคำ ถือว่าเป็นจุดที่แม่น้ำโขงมีความลึกที่สุดไม่สามารถวัดความลึกได้ กระแสน้ำบริเวณแก่งอาฮงจะไหลเชี่ยวมากในฤดูน้ำหลากและมีกระแสน้ำไหลวนเป็น รูปกรวยขนาดใหญ่ซึ่งชาวบ้านเชื่อกันว่าเป็น "สะดือแม่น้ำโขง" แม่น้ำโขงบริเวณแก่งอาฮงมีความกว้างประมาณ300 เมตร ในฤดูน้ำลดและมีความกว้างราว 400 เมตร ในฤดูน้ำหลาก และจะสามารถมองเห็นแก่งได้ในช่วงเดือนมีนาคม - พฤษภาคมของทุกปี และกลุ่มหินที่ปรากฎบริเวณแก่งอาฮงจะมีชื่อเรียกตามลักษณะของหิน เช่น หินลิ้น นาค หินปลาเข้ ถ้ำปลาสวาย นอกจากจะเป็นแหล่งพักผ่อนและสถานที่ท่องเที่ยวของอำเภอบึงกาฬและเป็นสถานที่ เกิดปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ คือ"บั้งไฟพญานาค" ในช่วงประเพณี ออกพรรษา จะมีนักท่องเที่ยวมาพักเที่ยวชมปรากฏการณ์ธรรมชาติ ปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาค บริเวณบ้านอาฮงเป็นจำนวนมาก จะมีมากในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 ที่ปฏิทินไทย กับปฏิทินประเทศ สปป.ลาวตรงกัน และชาวบ้านโดยรอบยังอาศัยทำการประมงด้วย

9. หนองกุดทิง (อ.บึงกาฬ) แหล่งท่องเที่ยวและพื้นที่ชุ่มน้ำแห่งหนองคายที่ยังความเป็นธรรมชาติไว้ อย่างแท้จริง ด้วยมีพื้นที่เชื่อมต่อแม่น้ำโขง ทำให้พื้นที่แห่งนี้มีความความหลากหลายทางชีวภาพจนได้รับการขึ้นทะเบียนเป็น พื้นที่ชุ่มน้ำสำคัญระดับโลก (พื้นที่แรมซาร์) แห่งที่ 11 ของประเทศไทย หนองกุดทิง มีพื้นที่ราว 22,000 ไร่ มีสัตว์น้ำอาศัยอยูมากกว่า 250 สายพันธุ์ มีปลาที่เป็นเอกลักษณ์หนึ่งเดียวในโลกถึง 20 สายพันธ์ มีนกพันธุ์ต่างๆกว่า40 ชนิด เหมาะสำหรับการมาพักผ่อน ชื่นชมธรรมชาติในวันสบายๆ

10. ตลาดสองฝั่งโขง (อ.บึงกาฬ)  เป็นตลาดริมแม่น้ำโขง ที่มีพ่อค้าแม่ค้าทั้งคนไทย และคนลาวข้ามฟากมาเปิดขายสินค้าในท้องถิ่นกันอย่างคึกคัก ทั้งอาหารสด อาหารแห้ง เสื้อผ้า ของกินพื้นถิ่น เดินเล่นชิลล์ๆ ในบรรยากาศแบบพื้นบ้าน ติดตลาดเฉพาะวันอังคารกับวันศุกร์


เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว
น้ำตกตาดกินรี
หนองกุดทิง

แก่งอาฮง

บึงโขงหลง

ภูทอก

ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก วิกีพิเดีย บึงกาฬ.คอม บึงโขงหลง.คอม ศรีวิไล.เน็ต และ ธนปกรณ์ สุขสาลี

ประวัติความเป็นมา


        อำเภอ บึงกาฬ เดิมเป็นตำบลหนึ่งในเขตการปกครองของอำเภอชัยบุรี จังหวัดนครพนม  ซึ่งมีที่ว่าการอำเภอ ตั้งอยู่ที่บริเวณปากน้ำสงคราม ต่อมาไม่ทราบชัดว่าปีใด ทางราชการได้ย้ายที่ว่าการอำเภอมาตั้งที่บึงกาญจน์ริมฝั่ง  ตรงข้ามเมืองปากซัน  แขวงบลิคำไซ  สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวปี   พ.ศ.2459  ทางราชการ ก่อสร้าง ที่ว่าการอำเภอขึ้นใหม่และโอนการปกครองอำเภอชัยบุรีมาขึ้นกับจังหวัด หนองคาย  ส่วนบริเวณที่ตั้ง ที่ว่าการอำเภอชัยบุรีเดิมนั้น ทางราชการยุบมาเป็นตำบลอยู่ในเขตการปกครอง ของอำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม
     
ปี พ.ศ.2475 ข้าราชการกระทรวงมหาดไทยท่านหนึ่งเดินทางมาตรวจราชการที่อำเภอชัยบุรี พบว่า หมู่บ้านบึงกาญจน์ มีหนองน้ำใหญ่แห่งหนึ่ง  กว้างประมาณ 160 เมตร  ยาวประมาณ 3,000 เมตร ชาวบ้าน เรียก "บึงกาญจน์" เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป  ทางการจึงเปลี่ยนชื่ออำเภอชัยบุรีเป็น "อำเภอบึงกาญจน์" ตั้งแต่นั้นมา
ต่อมาปี พ.ศ.2477 ทางการได้เปลี่ยนชื่อ อำเภอบึงกาญจน์ เป็น"อำเภอบึงกาฬ" เพื่อความสะดวกและ เข้าใจง่าย   ต่อมาได้แยกอำเภอเซกา  อำเภอพรเจริญ  อำเภอศรีวิไล  และ อำเภอบุ่งคล้า ออกจากอำเภอ บึงกาฬ  ตามลำดับ

ปัจจุบันที่ว่าการอำเภอบึงกาฬ   ตั้งอยู่ที่บ้านบึงกาฬ  หมู่ที่ 1   ตำบลบึงกาฬ   ห่างจากตัวจังหวัด ไปทางทิศตะวันออกประมาณ  136  กิโลเมตร   มีพื้นที่ปกครองทั้งหมด  673.262   ตารางกิโลเมตร โดย แบ่งการปกครองออกเป็น  2 ส่วน  ได้แก่  การปกครองส่วนภูมิภาคแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 12 ตำบล 121 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลบึงกาฬ ตำบลวิศิษฐ์ ตำบลไคสี  ตำบลหอคำ  ตำบลหนองเลิง  ตำบลหนองเข็ง ตำบลโนนสมบูรณ์ ตำบลนาสวรรค์ ตำบลคำนาดี ตำบลโคกก่อง ตำบลชัยพร และตำบลโป่งเปือย

การปกครองส่วนท้องถิ่น  ประกอบด้วยสุขาภิบาล  1  แห่ง  คือ สุขาภิบาลบึงกาฬ มีองค์การบริหาร ส่วนตำบล (อบต.) ครบทุกตำบล ยกเว้นตำบลโป่งเปือยที่ยังเป็นสภาตำบล รอการประกาศยกฐานะขึ้นเป็น อบต. ในอนาคต

จังหวัดบึงกาฬ แยกออกจาก จ.หนองคาย เนื่องจากมีคุณสมบัติครบถ้วนในการเป็นจังหวัดใหม่คือ มี 8 อำเภอประกอบด้วย อ.บึงกาฬ อ.เซกา อ.โซ่พิสัย อ.พรเจริญ อ.ปากคาด อ.บึงโขงหลง อ.ศรีวิไล และ อ.บุ่งคล้า มีประชากรเกือบ 4 แสนคน   มีความพร้อมเรื่องสาธารณูปโภคทั้งศาลากลาง อำเภอ สำนักงานอัยการ ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ แขวงการทาง สถานีตำรวจน้ำ

เป็นจังหวัดที่มีสภาพแวดล้อมที่สมบูรณ์ แวดล้อมไปด้วยภูเขา น้ำตก ที่สวยงาม เช่น น้ำตกเจ็ดสี, น้ำตกตากชะแนน ที่อยู่ภายในอุทยานแห่งชาติภูวัว อีกทั้งอำเภอบึงกาฬยังมีส่วนที่ติดกับแม่น้ำโขง ตลอดริมแนวชายฝั่ง

จังหวัดบึงกาฬ ภูมิอากาศที่จังหวัดบึงกาฬที่นี้ดีมาก เพราะได้ผลจากแม่น้ำโขงทำให้ไม่ร้อนมากในช่วงหน้าร้อน หน้าหนาวก็อากาศดีน่าท่องเที่ยวและพักผ่อนเป็นอย่างยิ่ง สังเกตุได้จากที่พักบึงกาฬ จะเต็มอยู่ตลอดเวลาในช่วงเทศกาลสำคัญๆ

ประเพณีวัฒนธรรมของจังหวัดบึงกาฬ ได้รับการสืบทอดมาอย่างรุ่นต่อรุ่นอย่างไม่ขาดหาย เพราะได้รับการสนับสนุนจากประชาชนอย่างดี เทศกาลต่างๆ ของจังหวัดบึงกาฬ เช่น เทศกาลบุญบั้งไฟ, เทศกาลสงกรานต์

อัธยาศัยของคนจังหวัดบึงกาฬนั้นเป็นกันเอง ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน อาหารการกินนั้นจะอยู่ในพวกประเภทของปลา เพราะอยู่ติดแม่น้ำโขงทำให้สามารถหาปลาได้อย่างง่ายดาย

สถานที่สำคัญของจังหวัดบึงกาฬ เจ้าแม่สองนาง หลวงพ่อใหญ่ วัดโพธาราม หนองกุดทิง(พื้นที่ชุ่มน้ำ) หาดทรายบึงกาฬ โรงเรียนบึงกาฬ วัดอาฮง องการบริหารส่วนตำบลบึงกาฬ โรงพยาบาลบึงกาฬ ศาลจังหวัดบึงกาฬ

ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก วิกีพิเดีย บึงกาฬ.คอม บึงโขงหลง.คอม ศรีวิไล.เน็ต และ ธนปกรณ์ สุขสาลี